นิยามของบาปใหญ่ ของ บาปใหญ่ (ศาสนาอิสลาม)

บาปใหญ่ ตามความเชื่อของอิสลาม หมายถึง บาปที่ต้องได้รับการลงโทษ ผลจากการทำบาปใหญ่ คือ จิตวิญญาณของมนุษย์จะถูกลบออกไป หมายความว่า มนุษย์จะสูญเสียจิตวิญญาณอันเป็นธรรมชาติดั้งเดิมที่บริสุทธิ์ไป จะบั่นทอนความปรารถนาที่จะทำความดีโดยเปลี่ยนเป็นความอยากที่จะทำบาปอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีก

  1. ทุกบาปที่อัลกุรอานและฮะดีษกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นบาปใหญ่ (มากกว่า 40 บาปที่ถูกรายงานจากอะฮ์ลุลบัยต์[3]
  2. ทุกบาปที่กระทำแล้วอัลกุรอานหรือซุนนะฮ์ที่น่าเชื่อถือได้สัญญาการลงโทษด้วยไฟนรกไว้
  3. ทุกบาปที่อัลกุรอานหรือซุนนะฮ์รับรู้กันโดยทั่วว่าเป็นบาปใหญ่ ถือว่าเป็นบาปที่ใหญ่กว่า
  4. ทุกบาปที่ผู้เคร่งครัดและนักการศาสนาระดับสูงถือว่าเป็นบาปใหญ่ ในลักษณะที่มั่นใจได้ว่าการเป็นบาปใหญ่ของมันนั้นมีในยุคอิมามมะอ์ซูม เช่น การตั้งใจทำให้มัสญิดเป็นนะญิสเพื่อลบหลู่เกียรติบ้านของพระเจ้า  การโยนอัลกุรอาน[4]
  5. การทำบาปเล็กซ้ำๆหรือยืนกรานทำบาปของเล็กซ้ำๆ ก็ถือว่าเป็นบาปใหญ่[5]

บาปใหญ่ในฮะดีษ

มีรายงานจาก มูซา บุตร ญะอ์ฟัร ว่า วันหนึ่ง อัมร์ บุตร อุบัยด์ เข้าพบบิดาของฉัน ญะอ์ฟัร ซอดิก เขาได้กล่าวให้สลามและนั่งลง แล้วได้อ่านโองการที่ 35 ซูเราะฮ์ชูรอ จากนั้นก็นิ่งเงียบ

อิมามกล่าวแก่เขาว่า  ทำไมท่านจึงไม่อ่านให้จบโองการเล่า ? ฉันกล่าวว่า ฉันต้องการทราบว่า บาปใหญ่ คืออะไร ? อิมามจึงกล่าวว่า

  1. การตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์: บาปใหญ่ที่สุด คือ การตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ และสวรรค์เป็นที่ต้องห้ามสำหรับผู้ที่ตั้งภาคี  ดังที่ตรัวไว้ว่า "แท้จริงผู้ใดให้มีภาแก่อัลลอฮ์ แน่นอนอัลลอฮ์จะทรงให้สวรรค์เป็นที่ต้องห้ามแก่เขา และที่พำนักของเขานั้นคือนรก"บทมาอิดะฮ์ โองการที่ 72)
  2. การสิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮ์: บาปหลังจากการตั้งภาคี คือ การสิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮ์ ผู้ใดที่สิ้นหวัง เขาคือ ผู้ปฏิเสธ ดังที่กุรอานกล่าวไว้ว่า "และพวกเจ้าอย่าสิ้นหวังต่อความเมตตาของอัลลอฮ์ แท้จริงไม่มีผู้ใดสิ้นหวังต่อความเมตตาของอัลลอฮ์ นอกจากหมู่ชนผู้ปฏิเสธ" (บทยูซุฟ โองการที่ 87)
  3. การมั่นใจว่าจะรอดพ้นจากการทดสอบและการลงโทษ: ไม่มีผู้ใดที่มั่นใจว่าจะปลอดภัยจากการทดสอบของอัลลอฮ์ได้นอกจากพวกที่ทุนเท่านั้น ดังที่กุรอานกล่าวไว้ว่า "ไม่มีใครมั่นใจว่าจะปลอดภัยจากอุบายของอัลลอฮ์ นอกจากกลุ่มชนที่ขาดทุนเท่านั้น" (บทอะอ์รอฟ โองการที่ 97) บาปใหญ่อีกประการหนึ่งคือ การดื้อดึงขัดขืนต่อพ่อแม่ และทรงถือว่าเป็นผู้เลวทรามต่ำช้า ดังมีในโองการที่ 32 ซูเราะฮ์มัรยัม ว่า“และทรงให้ฉันทำดีต่อมารดาของฉันและจะไม่ทรงทำให้ฉันเป็นผู้หยิ่งยะโส ผู้เลวทรามต่ำช้า” 
  4. การเข่นฆ่าผู้ศรัทธา: บาปใหญ่อีกประการหนึ่งคือ การฆ่าผู้ศรัทธาโดยปราศจากการตัดสินตามบทบัญญัติศาสนา และอัลลอฮ์ทรงกำหนดให้นรกเป็นสถานที่พำนักของฆาตกร ดังที่ตรัสไว้ว่า  "และผู้ใดฆ่าผู้ศรัทธาโดยจงใจ การตอบแทนแก่เขาก็คือ นรกญะฮันนัม โดยที่เขาจะอยู่ในนั้นตลอดกาล และอัลลอฮฺก็ทรงกริ้วโกรธเขา และทรงละนัตเขา และได้ทรงเตรียมไว้สำหรับเขาซึ่งการลงโทษอันใหญ่หลวง" (บทนิซา โองการที่ 95)
  5. การใส่ร้ายและกล่าวหาผู้อื่นว่าผิดประเวณี :การลงโทษได้ถูกสัญญาไว้แล้วสำหรับผู้ที่ให้ร้ายเช่นนี้ ดังที่ตรัสไว้ว่า "แท้จริงบรรดาผู้กล่าวโทษบรรดาหญิงบริสุทธิ์ หญิงไม่รู้เรื่องอะไร หญิงผู้ศรัทธา พวกเขาถูกสาปแช่งทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และสำหรับพวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างมหันต์" (บทนูร โองการที่ 23)
  6. การลิดรอนทรัพย์เด็กกำพร้า ไม่มีผลอันใดนอกจากการลงโทษเท่านั้น ดังที่อัลลอฮ์ตรัสว่า "แท้จริงบรรดาผู้ที่กินทรัพย์ของบรรดาเด็กกำพร้าด้วยความอธรรมนั้น แท้จริงพวกเขากินไฟเข้าไปในท้องของพวกเขาต่างหากและพวกเขาก็จะเข้าไปสู่เปลวเพลิง" (บทนิซา โองการที่ 11)
  7. การหนีจากสงคราม: เป็นสงครามที่ได้รับคำสั่งที่เป็นข้อบังคับ (วาญิบ) จากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) บรรดาอิมาม หรือตัวแทนเฉพาะของท่านศาสดาและบรรดาอิมาม ดังที่กล่าวไว้ว่า ผู้ใดหนีจากสงคราม ประดุจดังว่าเขาได้วิ่งเข้าหาความกริ้วของอัลลอฮ์ และสถานที่พำนักของเขาคือ นรก ซึ่งเป็นสถานพำนักที่เลวร้ายยิ่ง
  8. การกินดอกเบี้ย: อัลลอฮ์ตรัสเกี่ยวกับพวกกินดอกเบี้ยว่า  ผู้ที่กินดอกเบี้ยจะได้ถูกฟื้นขึ้นมาจากสุสานในวันกิยามะฮ์ นอกจากชัยฏอนจะให้เขาอยู่ในสภาพมึนเมา
  9. ไสยศาสตร์และการเรียนการสอนไสยศาสตร์ :  อัลลอฮ์ทรงตำหนิพวกนี้ไว้ว่า จงรู้ว่าเถิดว่า ในวันอาคิเราะฮ์ พวกเขาจะไม่รับประโยชน์อันใดเลยจากสวรรค์
  10. การผิดประเวณี: อัลลอฮ์ทรงสัญญาการลงโทษไว้แก่ผู้ผิดประเวณีว่า "และผู้ใดกระทำเช่นนั้น เขาจะได้พบกับความผิดอันมหันต์ การลงโทษในวันกิยามะฮ์จะถูกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าสำหรับเขา และเขาจะอยู่ในนั้นอย่างอัปยศ" (บทฟุรกอน โองการที่ 68) 
  11. การสาบานเท็จ:  ในวันกิยามะฮ์จะไม่ยังประโยชน์ใดเลยแก่ผู้ที่สาบานเท็จ ดังที่ตรัสไว้ว่า บรรดาผู้ที่ขายสัญญาอัลลอฮ์และการสาบานของตนด้วยราคาอันน้อยนิด พวกเขาย่อมไม่รับความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้าในวันกิยามะฮ์ 
  12. การทรยศและการยักยอก: การทรยศต่อศาสนา ชาติและประชาชน  ส่วนผู้ทรยศและยักยอกนั้นย่อมได้รับการลงโทษ ดังที่ตรัสว่า"และผู้ใดทรยศแล้ว เขาก็จะนำสิ่งที่เขายศนั้นมาในวันกิยามะฮ์แล้วแต่ละคนจะได้รับการตอบแทนอย่างครบถ้วน ตามที่เขาได้แสวงหาไว้ โดยที่พวกเขาจะไม่ได้รับความอยุติธรรม" (บทอาลิอิมรอน โองการที่ 161
  13. การไม่จ่ายซะกาต: อัลลอฮ์ตรัสเกี่ยวกับผู้ที่ไม่จ่ายซะกาตไว้ว่า “วันที่มันจะถูกเผาไฟนรกแห่งญะฮันนัม แล้วหน้าผากของพวกเขา และสีข้างของพวกเขา และหลังของพวกเขาจะถูกนาบด้วยมัน นี้แหละคือสิ่งที่พวกเจ้าได้สะสมไว้ เพื่อตัวของพวกเจ้าเอง ดังนั้นจงลิ้มรสสิ่งที่พวกเจ้าสะสมไว้เถิด" (บทเตาบะฮ์ โองการที่ 35)
  14. การปกปิดและเป็นพยานเท็จ: โองการที่ 72 บทฟุรกอน กล่าวว่า "และพวกเจ้าจงอย่าปกปิดพยานหลักฐาน และผู้ใดปกปิดมันไว้ แน่นอนหัวใจของเขาก็มีบาป และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ" (บทบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 283)
  15. การดื่มสุราและไม่ทำนมาซ:  อัลลอฮ์ทรงห้ามการดื่มสุราและของมึนเมาอื่นๆ เหมือนดังเช่นห้ามการบูชาเจว็ด และบาปใหญ่อีกประการหนึ่งคือ การไม่ทำนมาซ ท่านศาสนทูตกล่าวตำหนิผู้ที่ทิ้งการนมาซว่า ผู้ที่จงใจทิ้งการนมาซ เขาคือผู้ที่ออกจากการคุ้มครองของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์
  16. การบิดพลิ้วสัญญาและตัดญาติขาดมิิตร: พระองค์ทรงสาปแช่งพวกบิดพลิ้วสัญญาและตัดญาติขาดมิตรไว้ว่า " ชนเหล่านี้แหละพวกเขาจะได้รับการสาปแช่ง และจะได้ที่พำนักอันชั่วช้า" (บทเราะอ์ด โองการที่ 25) จากนั้น อัมร์ บุตร อุบัยด์ ก็ลากลับ ในสภาพที่ระทมและร้องไห้ และกล่าวว่า พินาศสิ้นแล้วสำหรับผู้ที่วินิจฉัยตามอำเภอใจตนและถือว่าความรู้และความประเสริฐนั้นทัดเทียมกับท่าน

บาปใหญ่ในมุมมองของ ซัยยิดอับดุลฮุเซน ดัสต์ฆีบ

ซัยยิดอับดุลฮุเซน ดัสต์ฆีบ มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า ฆุนอฮอน กะบีเราะฮ์

  1. สิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮ์
    [6]
  2. การมั่นใจว่าจะรอดพ้นจากอุบายและการลงโทษของอัลลอฮ์[7]
  3. โกหก[8]
  4. การฆ่าคน การฆ่าผู้ที่อัลลอฮ์ทรงห้าม ถือว่าเลือดเนื้อของเขามีเกียรติ นอกจากเป็นไปตามการตัดสินตามบทบัญญัติของพระองค์ เช่น การกิศอศ และหลักว่าด้วยฮุดูด
  5. การตัดสัมพันธ์กับพ่อแม่[9]
  6. ลิดรอนสิทธิเด็กกำพร้า[10]
  7. การมดเท็จยังอัลลอฮ์ ศาสนทูตของพระองค์และบรรดาตัวแทนของพระองค์[11]
  8. นีสงคราม[12]
  9. ตัดญาติขาดมิตร[13]
  10. เล่นไสยศาสตร์[14]
  11. การผิดประเวณี[15]
  12. การเสพสังวาสทางทวารหนัก[16]
  13. การขโมย
  14. การใส่ร้ายสาวบริสุทธิ์ว่าผิดประเวณี
  15. การปกปิดการเป็นพยาน[17]
  16. การเป็นพยานเท็จ[18]
  17. การละเมิดสัญญา
  18. โกงพินัยกรรม
  19. ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์[19]
  20. การกินดอกเบี้ย[20]
  21. ค่าตอบแทนจากสิ่งที่ฮะรอมและสินจ้างจากงานที่ฮะรอม
  22. การพนัน[21]
  23. การกินซากสัตว์ สุกร เลือด และสัตว์ที่ไม่ผ่านการเชือดด้วยพระนามของอัลลอฮ์ นอกจากในกรณีที่จำเป็นต้องกินเพื่อประทังชีวิต
  24. การอพยพและย้ายไปอยู่ในถิ่นที่ลำบากในการปฏิบัติศาสนกิจ
  25. การช่วยผู้อธรรมในการกดขี่ของเขา[22]
  26. การสนับสนุนให้ผู้อธรรมมีความเชื่อมั่น
  27. การกักสิทธิของผู้อื่น[23]
  28. สาบานเท็จ[24]
  29. ยะโส[25]
  30. สุรุ่ยสุร่าย[26]
  31. การทรยศ[27]
  32. นินทา[28]
  33. การใส่ร้าย
  34. หมกมุ่นกับความไร้สาระ
  35. การไม่ให้ความสำคัญกับการทำฮัจญ์[29]
  36. การไม่ทำนมาซ[30]
  37. การไม่จ่ายซะกาต[31]
  38. การทำบาปเล็กซ้ำแล้วซ้ำอีก[32]
  39. การสำเร็จความใคร่[33]